ทำไมต้องใช้สารเคมีกับระบบน้ำ ?

20 November 2018

การใช้สารเคมีสำหรับระบบน้ำจะมีหลายวัตถุประสงค์ขึ้นอยู่กับระบบที่จะนำไปใช้ อย่างเช่นในระบบทำน้ำใส (Clarifier) จะใช้สารเคมีเพื่อตกตะกอนความขุ่น และทำน้ำให้ใสเพื่อจะนำไปใช้งาน ในอดีตชาวบ้านจะใช้สารส้มเป็นตัวตกตะกอนความขุ่น แต่ในปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีได้พัฒนาจะมีสารเคมีให้เลือกใช้หลายตัว ตามความเหมาะสม ส่วนในระบบน้ำหล่อเย็น (Cooling System) หรือในระบบหม้อไอน้ำ (Boiler System) จะนำสารเคมีไปใช้เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดกับระบบนั้นๆ โดยเฉพาะปัญหาในเรื่องตะกรันต่างๆ และ การกัดกร่อนเนื่องจากการเกิดสนิม เพื่อการลดการใช้เชื้อเพลิง และยืดอายุของอุปกรณ์

สารเคมีที่ใช้แล้ว จะมีปัญหาเรื่องการตกค้าง หรือกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร ?

20 November 2018

การเลือกใช้สารเคมีจะขึ้นอยู่กับชนิดของระบบ วัตถุประสงค์การนำไปใช้ ข้อจำกัดต่างๆที่ผู้ใช้เป็นผู้กำหนด และอื่นๆ สารเคมีบางชนิดสามารถสลายตัวเองได้ บางชนิดก็สามารถตกค้างได้ แต่อย่างไรก็ตามในสภาวะปัจจุบัน ได้มีการรณรงค์ในเรื่องการยกเลิก หรือลดปริมาณการใช้สารเคมีที่อาจจะเป็นอันตราย สารเคมีที่สามารถตกค้างได้ และไม่ปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อมไปแล้วหลายตัว เช่น โครเมต ลดการใช้สารเคมีที่มีองค์ประกอบของโลหะหนัก เป็นต้น โดยเปลี่ยนมาใช้สารเคมีที่ไม่เป็นอัตราย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

การใช้สารเคมี จะได้รับประโยชน์อะไรกลับมา ?

20 November 2018

ประโยชน์ของการใช้สารเคมีขึ้นอยู่กับชนิดของระบบ และวัตถุประสงค์ที่นำสารเคมีไปใช้ อย่างเช่นในระบบทำน้ำใส (Clarifier) การใช้สารเคมีจะทำให้การตกตะกอน และการแยกตะกอนกับนำใส ทำได้เร็วขึ้น ทำให้สามารถผลิตน้ำได้เร็วขึ้นมากๆ ใช้พื้นที่น้อยกว่า และอื่นๆ ส่วนการใช้สารเคมีในระบบน้ำหล่อเย็น หรือ น้ำหม้อไอน้ำ ส่วนใหญ่ก็เพื่อป้องกันปัญหาในเรื่องตะกรัน และการกัดกร่อนในระบบดังกล่าว การที่สามารถป้องกันปัญหาในเรื่องตะกรันได้ก็คือ การประหยัดพลังงานหรือเชื้อเพลิงที่นำมาใช้ จากการวิจัยพบว่า ถ้ามีตะกรันหินปูนในตัวหม้อไอน้ำหนา 1 มิลลิเมตร จะทำให้ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันเตาเกรด ซี มากขึ้น 3-4 % ดังนั้นถ้าสามารถควบคุมตะกรันหินปูนไม่ให้เกิดขึ้นได้ ก็หมายถึงการลดการใช้เชื้อเพลิงได้เช่นกัน ส่วนถ้าสามารถป้องกันการกัดกร่อนได้จะทำให้อุปกรณ์มีอายุการใช้งานได้นานขึ้นมาก

ในระบบ Cooling & Boiler ถ้าการใช้สารเคมีมากกว่า หรือ น้อยกว่ามาตรฐานที่กำหนด จะส่งผลกระทบอย่างไร?

20 November 2018

การใช้สารเคมีที่ถูกต้องสำหรับระบบ Cooling & Boiler ควรที่จะใช้แต่พอดีให้อยู่ในตามมาตรฐานที่ควบคุม ไม่น้อยกว่า และก็เกินมาตรฐานไม่มากนัก จากคำถามที่ว่าถ้าใช้มากเกินไปจะทำให้เกิดการสิ้นเปลืองเกินความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าใช้เกินไปหลายๆเท่าตัว จะมีโอกาสที่จะเกิดเป็นตะกรันของสารเคมีได้ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อระบบ แต่ถ้าใช้ปริมาณสารเคมีน้อยเกินไป จะทำให้ไม่สามารถควบคุมคุณภาพน้ำได้ตามที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน

ทางบริษัท วิศวกรรมเคมี จำกัด มีการบริการหลังการขายอย่างไร ?

20 November 2018

สำหรับลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ สินค้า และการบริการของทางบริษัทฯ โดยปกติทางบริษัทฯจะทำการจัดให้มีการบริการหลังการขายให้เหมาะสมกับชนิดของระบบที่จะนำตัวผลิตภัณฑ์ของทางบริษัทฯไปใช้ อย่างเช่นถ้าเป็นระบบ Clarifier จะมีในเรื่องการเก็บตัวอย่างวิเคราะห์คุณภาพน้ำ และการทดสอบหาการใช้สารเคมีที่จะมีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล หรือในระบบน้ำหล่อเย็น นอกจากจะมีการเก็บตัวอย่างมาวิเคราะห์ แล้วยังมีในเรื่องของการติดตามวัดผลตลอดเวลา อย่างเช่นการติดตามเรื่องปริมาณเชื้อจุลลินทรีย์ในระบบว่าได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้หรือเปล่า หรือติดตามในเรื่องของการวัดค่าอัตราการกัดกร่อนโลหะที่มีในระบบเป็นต้น

มาตรฐานน้ำที่กำหนดให้ นำมาจากมาตรฐานอะไร ?

20 November 2018

สำหรับในระบบน้ำหล่อเย็น จะมีปัญหาในเรื่อง ตะกรัน การกัดกร่อน และในเรื่องของราเมือกหรือตะไคร่น้ำ ปัญหาในเรื่องตะกรันที่พบบ่อยๆ จะมีในเรื่องของตะกรันหินปูน และตะกรันแก้ว โดยบที่จริงจะป้องกันได้โดยคำนวณจากค่าความสามารถในการละลาย (Ksp) ของตัวตะกรันนั่นเอง โดยตะกรันหินปูนจะมีนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งที่ชื่อ Dr. Langelier ได้ศึกษาในเรื่องความสัมพันธ์และปัจจัยของการตกตะกอนของตะกรันหินปูน โดนได้สร้างกราฟและสูตรคำนวณไว้เพื่อใช้ทำนายการเกิดตะกรันหินปูน เราจึงสามารถควบคุมปัญหานี้ได้ ส่วนตะกรันแก้วก็ใช้คำนวณจากค่าความสามารถในการละลายเช่นเดียวกัน ในเรื่องของการกัดกร่อนนั้น เราสามารถใช้ความสัมพันธ์ของ Dr. Rhznar ได้กำหนดไว้เป็นสมการทำนาย นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงในเรื่องของชนิดของโลหะ และความคงทนต่ออิออนต่างๆที่มีอยู่ในน้ำด้วยเช่นกัน สำหรับในระบบหม้อไอน้ำ ทางบริษัทฯจะใช้มาตรฐานของ 2 ที่ก็คือ มาตรฐานของทางญี่ปุ่นหรือ JIS Standard และมาตรฐานของทางอเมริกา หรือ ASME Standard ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าลูกค้าต้องการมาตรฐานใดในการควบคุม (ถ้าต้องการข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่พนักงานฝ่ายขายหรือเทคนิคของทางบริษัทฯ)

ทำไมใช้สารเคมีแล้ว ยังพบปัญหาเกิดขึ้นในระบบ ?

20 November 2018

เมื่อมีการใช้สารเคมีในระบบน้ำแล้วยังมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่ นั่นแสดงว่ายังมีข้อบกพร่องหรือยังไม่สมบูรณ์อยู่ ปัจจัยสำคัญสำหรับในเรื่องการใช้สารเคมีในระบบน้ำให้ได้ผลที่ดีมี 2 เรื่องคือ 1.ในเรื่องของการควบคุณภาพน้ำก่อนเข้าระบบเครื่องจักรและปริมาณการใช้สารเคมีให้อยู่ในค่าควบคุมตามมาตรฐานที่กำหนด 2. ในเรื่องของการปฏิบัติงานและการติดตามผลการใช้ที่ดี และใกล้ชิด ซึ่งจะขาดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ไม่ได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การใช้สารเคมีให้ได้ผลก็คือการที่ทางผู้ซื้อกับผู้ขายต้องทำงานด้วยกันเหมือนเป็นทีมกัน มีการติดตามผลด้วยกันตลอดเวลา

วิธีการใช้สารเคมีที่ถูกต้องควรทำอย่างไร ?

20 November 2018

การใช้สารเคมีให้ถูกต้องก็คือ การเลือกชนิดของสารเคมีให้ถูกต้องกับวัตถุประสงค์ และข้อกำหนดต่างๆของระบบที่จะนำไปใช้ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสำรวจเบื้องต้นเพื่อที่จะทำการเลือกสารเคมีที่จะมีคุณสมบัติเหมาะสมกับระบบแต่ละแห่ง ส่วนในเรื่องปริมาณการใช้สารเคมี ดังเช่นในระบบน้ำหล่อเย็น ถ้าใช้สารเคมีน้อยเกินไปจะทำให้ประสิทธิภาพไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถควบคุมคุณภาพน้ำได้ตามมาตรฐานที่ทางบริษัทฯกำหนด ส่วนถ้าใช้มากเกินไปก็มีผลเสียคือ ในเรื่องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และในเรื่องของอันตรายจากการใช้สารเคมีมากเกินไปมากๆ นั่นก็คือในเรื่องตะกรันของสารเคมี

คุณภาพน้ำดิบ (แหล่งน้ำ) มีผลต่อการเลือกใช้สารเคมีในระบบน้ำหล่อเย็น หรือ ระบบหม้อไอน้ำหรือไม่?

20 November 2018

การเลือกใช้สารเคมีในระบบน้ำหล่อเย็น หรือน้ำหม้อไอน้ำจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบในเรื่องคุณสมบัติของน้ำดิบเพื่อ ที่จะทำการศึกษาและวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบและขั้นตอนการบำบัดเบื้องต้นว่าจะส่งผลหรือทำให้เกิดปัญหาเรื่องอะไรกับในระบบ เพื่อนำไปใช้ในการเลือกชนิดของสารเคมี ในการคำนวณปริมาณสารเคมีที่จะต้องใช้ และกำหนดมาตรฐานให้กับระบบนั้นๆ

ค่าวิเคราะห์น้ำที่ได้ สามารถบอกอะไรได้บ้าง ?

20 November 2018

ค่าวิเคราะห์คุณภาพน้ำสามารถบอกให้ทราบถึงแนวโน้มของปัญหาได้ ซึ่งถ้าสามารถอ่านผลน้ำได้เข้าใจ จะทราบถึงปัญหา และแก้ไขปัญหาได้ทัน ในผลการวิเคราะห์น้ำจะแบ่งค่าวิเคราะห์ออกเป็น 2 หมวดในการพิจารณาปัญหาดังนี้ -ในเรื่องของปัญหาในเรื่องตะกรัน ให้ดูจากค่า PH, Electrical Conductivity, Total & calcium Hardness, M&P- Alkalinity และ Silica ion อิออนเหล่านี้จะไปตัวบอกถึงแนวโน้มในการเกิดตะกรันต่างๆในระบบ -ในเรื่องของปัญหาเรื่องการกัดกร่อนดูได้จากค่า PH, Electrical Conductivity, Chloride ion, Sulfate ion และ Total Iron