ข่าว & คำถาม

ข่าวสารความเคลื่อนไหว

เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2567 ที่ผ่านมา บริษัท วิศวกรรมเคมี […]

Read More

บริษัท วิศวกรรมเคมี จำกัด เข้าร่วมพิธีมอบใบรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ ในวันพุธ ที่ 1 มีนาคม 2566

Read More

ในวันที่ 13 ธันวาคม 2565 บริษัท วิศวกรรมเคมี จำกัด ได้มีการจัดอบรมพนักงาน ในหัวข้อ “เทคนิคการตรวจติดตามภายใน
ตามระบบการบริหารคุณภาพ ISO 9001” เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจในระบบ ISO 9001 ให้แก่พนักงาน และสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า

Read More

คณะผู้บริหาร และพนักงานบริษัท วิศวกรรมเคมี จำกัด
ร่วมทำบุญกฐินสามัคคีที่จัดขึ้น ณ วัดบุญรอดธรรมาราม
โดยมี คุณสรณ อภิลักษณ์ รองกรรมการผู้จัดการ
เป็นตัวแทนส่งมอบกฐินสามัคคี เพื่อสมทบการบูรณะพระอุโบสถ
ที่จัดขึ้นในวันอาทิตย์ ที่ 6 พฤศจิกายน 2565
รวมจำนวนเงินทั้งสิ้น  200,000 บาท

Read More

บริษัท วิศวกรรมเคมี จำกัด มอบสิ่งของอุปโภค บริโภค ให้กับชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงโรงงานน้ำตาลสุรินทร์ และได้มอบอุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬาที่จำเป็น และร่วมเลี้ยงอาหารกลางวันให้กับนักเรียน โรงเรียนนิคมสร้างตนเองปราสาท 1  อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ ในวันที่ 15 – 16 กันยายน 2565 

Read More

บริษัท วิศวกรรมเคมี จำกัด หรือ TCE จัดพิธีทำบุญเนื่องในโอกาสครบรอบ 45 ปี  โดยคณะผู้บริหาร และพนักงาน ร่วมทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ถวายภัตตาหารเพลและเครื่องสังฆทานแด่พระสงฆ์ จำนวน 9 รูป เพื่อความเป็นสิริมงคล

Read More

บริษัท วิศวกรรมเคมี จำกัด ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสู้ภัย โควิด-19 โดยบริจาคแอลกอฮอล์ จำนวน 540 ลิตร เพื่อใช้ในการฆ่าเชื้อ และป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ต.ทุ่งชมพู  จ.ขอนแก่น เมื่อวันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม 2564

Read More

บริษัท วิศวกรรมเคมี จำกัด จัดกิจกรรมแบ่งปันความรัก ที่บ้านเด็กธรรมรักษ์ จ.ลพบุรี เมื่อวันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งบ้านเด็กธรรมรักษ์ เป็นสถานที่ดูแลเด็กกำพร้า คนชรา และผู้ป่วย HIV ที่อยู่ในความดูแลของวัดพระบาทน้ำพุ จ.ลพบุรี

Read More

โครงการกลุ่มทอผ้าเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู และชุบชีวิตผ้าทอลาวครั่ง โดยใช้สีจากธรรมชาติ ณ วัดพุน้ำร้อน อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

Read More

ทำบุญครบรอบ 43 ปี ของการก่อตั้ง บริษัท วิศวกรรมเคมี จำกัด

Read More

บริษัทฯ ได้จัดกิจกรรมทอดกฐินสามัคคี ที่วัดโภคาภิวัฒน์ เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 62 พร้อมทำกิจกรรม CSR ทาสีสนามกีฬา ป้ายชื่อโรงเรียน และโรงอาหาร พร้อมกับมอบอุปกรณ์กีฬา สื่อการเรียนการสอนพร้อมของที่ระลึกให้แก่ครูและนักเรียน

Read More

เมื่อเดือนกันยายน 2561 ที่ผ่านมา คุณลิขิต โพธิ์ศรี กรรมการบริษัท วิศวกรรมเคมี จำกัด

Read More

เมื่อวันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม 2561 บริษัท วิศวกรรมเคมี จำกัด ได้จัดโครงการ “41 ปี TCE ปันยิ้มอิ่มสุข”

Read More

เรามุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบความคิดตาม วิสัยทัศน์ และ นโยบายคุณภาพ“สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า พัฒนาคุณภาพและผลิตภัณฑ์ สร้างสรรค์บุคลากร”

Read More

“3W Expo 2013″ ณ ศูนย์แสดงสินค้าไบเทค-บางนาโดยงานแสดงสินค้าในครั้งนี้มุ่งเน้นเกี่ยวกับ การบำบัดน้ำ บำบัดน้ำเสีย และการกำจัดของเสีย ทางบริษัทฯ ใคร่ขอเรียนเชิญท่านที่สนใจเข้าร่วมชมงานในครั้งนี้

Read More

โครงการ “กล้าดี” ได้จัดกิจกรรมในพื้นที่ประสบอุทกภัย ขอชวนชาวจิตอาสา ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการลงพื้นที่เพื่อ “เข้าใจ เข้าถึง” สภาพปัญหาไปกับเรา

Read More

Multimedia : วิศวกรรมเคมีกับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล

Read More

สัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง การใช้สารเคมีและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตในกระบวนการผลิตน้ำตาล

Read More

คำถามที่พบบ่อย

 ทำไมต้องใช้สารเคมีกับระบบน้ำ ?

การใช้สารเคมีสำหรับระบบน้ำจะมีหลายวัตถุประสงค์ขึ้นอยู่กับระบบที่จะนำไปใช้ อย่างเช่นในระบบทำน้ำใส (Clarifier) จะใช้สารเคมีเพื่อตกตะกอนความขุ่น และทำน้ำให้ใสเพื่อจะนำไปใช้งาน ในอดีตชาวบ้านจะใช้สารส้มเป็นตัวตกตะกอนความขุ่น แต่ในปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีได้พัฒนาจะมีสารเคมีให้เลือกใช้หลายตัว ตามความเหมาะสม ส่วนในระบบน้ำหล่อเย็น (Cooling System) หรือในระบบหม้อไอน้ำ (Boiler System) จะนำสารเคมีไปใช้เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดกับระบบนั้นๆ โดยเฉพาะปัญหาในเรื่องตะกรันต่างๆ และ การกัดกร่อนเนื่องจากการเกิดสนิม เพื่อการลดการใช้เชื้อเพลิง และยืดอายุของอุปกรณ์

 สารเคมีที่ใช้แล้ว จะมีปัญหาเรื่องการตกค้าง หรือกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร ?

การเลือกใช้สารเคมีจะขึ้นอยู่กับชนิดของระบบ วัตถุประสงค์การนำไปใช้ ข้อจำกัดต่างๆที่ผู้ใช้เป็นผู้กำหนด และอื่นๆ สารเคมีบางชนิดสามารถสลายตัวเองได้ บางชนิดก็สามารถตกค้างได้ แต่อย่างไรก็ตามในสภาวะปัจจุบัน ได้มีการรณรงค์ในเรื่องการยกเลิก หรือลดปริมาณการใช้สารเคมีที่อาจจะเป็นอันตราย สารเคมีที่สามารถตกค้างได้ และไม่ปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อมไปแล้วหลายตัว เช่น โครเมต ลดการใช้สารเคมีที่มีองค์ประกอบของโลหะหนัก เป็นต้น โดยเปลี่ยนมาใช้สารเคมีที่ไม่เป็นอัตราย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

 การใช้สารเคมี จะได้รับประโยชน์อะไรกลับมา ?

ประโยชน์ของการใช้สารเคมีขึ้นอยู่กับชนิดของระบบ และวัตถุประสงค์ที่นำสารเคมีไปใช้ อย่างเช่นในระบบทำน้ำใส (Clarifier) การใช้สารเคมีจะทำให้การตกตะกอน และการแยกตะกอนกับนำใส ทำได้เร็วขึ้น ทำให้สามารถผลิตน้ำได้เร็วขึ้นมากๆ ใช้พื้นที่น้อยกว่า และอื่นๆ ส่วนการใช้สารเคมีในระบบน้ำหล่อเย็น หรือ น้ำหม้อไอน้ำ ส่วนใหญ่ก็เพื่อป้องกันปัญหาในเรื่องตะกรัน และการกัดกร่อนในระบบดังกล่าว การที่สามารถป้องกันปัญหาในเรื่องตะกรันได้ก็คือ การประหยัดพลังงานหรือเชื้อเพลิงที่นำมาใช้ จากการวิจัยพบว่า ถ้ามีตะกรันหินปูนในตัวหม้อไอน้ำหนา 1 มิลลิเมตร จะทำให้ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันเตาเกรด ซี มากขึ้น 3-4 % ดังนั้นถ้าสามารถควบคุมตะกรันหินปูนไม่ให้เกิดขึ้นได้ ก็หมายถึงการลดการใช้เชื้อเพลิงได้เช่นกัน ส่วนถ้าสามารถป้องกันการกัดกร่อนได้จะทำให้อุปกรณ์มีอายุการใช้งานได้นานขึ้นมาก

 ในระบบ Cooling & Boiler ถ้าการใช้สารเคมีมากกว่า หรือ น้อยกว่ามาตรฐานที่กำหนด จะส่งผลกระทบอย่างไร?

การใช้สารเคมีที่ถูกต้องสำหรับระบบ Cooling & Boiler ควรที่จะใช้แต่พอดีให้อยู่ในตามมาตรฐานที่ควบคุม ไม่น้อยกว่า และก็เกินมาตรฐานไม่มากนัก จากคำถามที่ว่าถ้าใช้มากเกินไปจะทำให้เกิดการสิ้นเปลืองเกินความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าใช้เกินไปหลายๆเท่าตัว จะมีโอกาสที่จะเกิดเป็นตะกรันของสารเคมีได้ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อระบบ แต่ถ้าใช้ปริมาณสารเคมีน้อยเกินไป จะทำให้ไม่สามารถควบคุมคุณภาพน้ำได้ตามที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน

 ทางบริษัท วิศวกรรมเคมี จำกัด มีการบริการหลังการขายอย่างไร ?

สำหรับลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ สินค้า และการบริการของทางบริษัทฯ โดยปกติทางบริษัทฯจะทำการจัดให้มีการบริการหลังการขายให้เหมาะสมกับชนิดของระบบที่จะนำตัวผลิตภัณฑ์ของทางบริษัทฯไปใช้ อย่างเช่นถ้าเป็นระบบ Clarifier จะมีในเรื่องการเก็บตัวอย่างวิเคราะห์คุณภาพน้ำ และการทดสอบหาการใช้สารเคมีที่จะมีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล หรือในระบบน้ำหล่อเย็น นอกจากจะมีการเก็บตัวอย่างมาวิเคราะห์ แล้วยังมีในเรื่องของการติดตามวัดผลตลอดเวลา อย่างเช่นการติดตามเรื่องปริมาณเชื้อจุลลินทรีย์ในระบบว่าได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้หรือเปล่า หรือติดตามในเรื่องของการวัดค่าอัตราการกัดกร่อนโลหะที่มีในระบบเป็นต้น

 มาตรฐานน้ำที่กำหนดให้ นำมาจากมาตรฐานอะไร ?

สำหรับในระบบน้ำหล่อเย็น จะมีปัญหาในเรื่อง ตะกรัน การกัดกร่อน และในเรื่องของราเมือกหรือตะไคร่น้ำ ปัญหาในเรื่องตะกรันที่พบบ่อยๆ จะมีในเรื่องของตะกรันหินปูน และตะกรันแก้ว โดยบที่จริงจะป้องกันได้โดยคำนวณจากค่าความสามารถในการละลาย (Ksp) ของตัวตะกรันนั่นเอง โดยตะกรันหินปูนจะมีนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งที่ชื่อ Dr. Langelier ได้ศึกษาในเรื่องความสัมพันธ์และปัจจัยของการตกตะกอนของตะกรันหินปูน โดนได้สร้างกราฟและสูตรคำนวณไว้เพื่อใช้ทำนายการเกิดตะกรันหินปูน เราจึงสามารถควบคุมปัญหานี้ได้ ส่วนตะกรันแก้วก็ใช้คำนวณจากค่าความสามารถในการละลายเช่นเดียวกัน ในเรื่องของการกัดกร่อนนั้น เราสามารถใช้ความสัมพันธ์ของ Dr. Rhznar ได้กำหนดไว้เป็นสมการทำนาย นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงในเรื่องของชนิดของโลหะ และความคงทนต่ออิออนต่างๆที่มีอยู่ในน้ำด้วยเช่นกัน

สำหรับในระบบหม้อไอน้ำ ทางบริษัทฯจะใช้มาตรฐานของ 2 ที่ก็คือ มาตรฐานของทางญี่ปุ่นหรือ JIS Standard และมาตรฐานของทางอเมริกา หรือ ASME Standard ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าลูกค้าต้องการมาตรฐานใดในการควบคุม

(ถ้าต้องการข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่พนักงานฝ่ายขายหรือเทคนิคของทางบริษัทฯ)

 ทำไมใช้สารเคมีแล้ว ยังพบปัญหาเกิดขึ้นในระบบ ?

เมื่อมีการใช้สารเคมีในระบบน้ำแล้วยังมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่ นั่นแสดงว่ายังมีข้อบกพร่องหรือยังไม่สมบูรณ์อยู่ ปัจจัยสำคัญสำหรับในเรื่องการใช้สารเคมีในระบบน้ำให้ได้ผลที่ดีมี 2 เรื่องคือ

1.ในเรื่องของการควบคุณภาพน้ำก่อนเข้าระบบเครื่องจักรและปริมาณการใช้สารเคมีให้อยู่ในค่าควบคุมตามมาตรฐานที่กำหนด

2. ในเรื่องของการปฏิบัติงานและการติดตามผลการใช้ที่ดี และใกล้ชิด

ซึ่งจะขาดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็ไม่ได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การใช้สารเคมีให้ได้ผลก็คือการที่ทางผู้ซื้อกับผู้ขายต้องทำงานด้วยกันเหมือนเป็นทีมกัน มีการติดตามผลด้วยกันตลอดเวลา

 วิธีการใช้สารเคมีที่ถูกต้องควรทำอย่างไร ?

การใช้สารเคมีให้ถูกต้องก็คือ การเลือกชนิดของสารเคมีให้ถูกต้องกับวัตถุประสงค์ และข้อกำหนดต่างๆของระบบที่จะนำไปใช้ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสำรวจเบื้องต้นเพื่อที่จะทำการเลือกสารเคมีที่จะมีคุณสมบัติเหมาะสมกับระบบแต่ละแห่ง ส่วนในเรื่องปริมาณการใช้สารเคมี ดังเช่นในระบบน้ำหล่อเย็น ถ้าใช้สารเคมีน้อยเกินไปจะทำให้ประสิทธิภาพไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถควบคุมคุณภาพน้ำได้ตามมาตรฐานที่ทางบริษัทฯกำหนด ส่วนถ้าใช้มากเกินไปก็มีผลเสียคือ ในเรื่องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และในเรื่องของอันตรายจากการใช้สารเคมีมากเกินไปมากๆ นั่นก็คือในเรื่องตะกรันของสารเคมี

 คุณภาพน้ำดิบ (แหล่งน้ำ) มีผลต่อการเลือกใช้สารเคมีในระบบน้ำหล่อเย็น หรือ ระบบหม้อไอน้ำหรือไม่?

การเลือกใช้สารเคมีในระบบน้ำหล่อเย็น หรือน้ำหม้อไอน้ำจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบในเรื่องคุณสมบัติของน้ำดิบเพื่อ ที่จะทำการศึกษาและวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบและขั้นตอนการบำบัดเบื้องต้นว่าจะส่งผลหรือทำให้เกิดปัญหาเรื่องอะไรกับในระบบ เพื่อนำไปใช้ในการเลือกชนิดของสารเคมี ในการคำนวณปริมาณสารเคมีที่จะต้องใช้ และกำหนดมาตรฐานให้กับระบบนั้นๆ

 ค่าวิเคราะห์น้ำที่ได้ สามารถบอกอะไรได้บ้าง ?

ค่าวิเคราะห์คุณภาพน้ำสามารถบอกให้ทราบถึงแนวโน้มของปัญหาได้ ซึ่งถ้าสามารถอ่านผลน้ำได้เข้าใจ จะทราบถึงปัญหา และแก้ไขปัญหาได้ทัน ในผลการวิเคราะห์น้ำจะแบ่งค่าวิเคราะห์ออกเป็น 2 หมวดในการพิจารณาปัญหาดังนี้

-ในเรื่องของปัญหาในเรื่องตะกรัน ให้ดูจากค่า PH, Electrical Conductivity, Total & calcium Hardness, M&P- Alkalinity และ Silica ion อิออนเหล่านี้จะไปตัวบอกถึงแนวโน้มในการเกิดตะกรันต่างๆในระบบ

-ในเรื่องของปัญหาเรื่องการกัดกร่อนดูได้จากค่า PH, Electrical Conductivity, Chloride ion, Sulfate ion และ Total Iron

 ทางบริษัท วิศวกรรมเคมี จำกัด จำหน่ายสินค้าและบริการอย่างไร ?

ทางบริษัทเป็นผู้จำหน่ายสินค้าดังนี้

1.เคมีสำหรับปรับสภาพน้ำ

-เคมีสำหรับหม้อไอน้ำ

-เคมีสำหรับระบบน้ำหล่อเย็น

-เคมีสำหรับล้างระบบและบริการ

-เคมีช่วยตกตะกอนแยกของแข็งของออกจากน้ำ

2.งานตรวจวิเคราะห์และให้คำปรึกษา

3.งานระบบปรับสภาพน้ำ, อุปกรณ์ และเครื่องควบคุมปริมาณสารเคมีเพื่อให้อยู่ในค่ามาตรฐานที่ควบคุม

4.เคมีภัณฑ์อื่นๆ

 ทำไมในระบบ Cooling & Boiler เมื่อใช้เคมีแล้วยังต้องมีการ Bleed Off & Blow down. ?

ในระบบน้ำหล่อเย็น และระบบหม้อไอน้ำ จะมีลักษณะเหมือนกันคือ มีการกลายเป็นไอ แล้วระเหยออกไป ในระบบน้ำหล่อเย็นที่ตัว Cooling Tower จะมีการถ่ายเทความร้อนออกจากระบบโดยการระเหย โดยถือว่าน้ำที่ระเหยออกไปเป็นน้ำบริสุทธิ์ แร่ธาตุต่างๆในน้ำจะตกค้างที่ตัวถาดหรือบ่อของระบบน้ำหล่อเย็น เช่นเดียวกันกับในระบบหม้อไอน้ำ ที่มีการผลิตไอน้ำ เราถือว่าไอน้ำเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ แร่ธาตุต่างๆจะตกค้างที่ตัวหม้อไอน้ำนั้น และเนื่องจากการสะสมแร่ธาตุดังกล่าวมา เมื่อระยะเวลามากขึ้นความเข้มข้นของแร่ธาตุจะมากขึ้นตามไปด้วย

ในการใช้สารเคมีจะทำให้ ระบบสามารถทนต่อความเข้มข้นของร่าตุในน้ำได้มากขึ้นค่าหนึ่ง ซึ่งก็คือค่ามาตรฐานที่กำหนดนั่นเอง ถ้าปริมาณแร่ธาตุสูงมากกว่าค่ามาตรฐานปัญหาจะเริ่มเกิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงต้องมีการถ่ายน้ำออกจากระบบแล้วเติมน้ำใหม่เพื่อเจือจางแร่ธาตุต่างๆ ในน้ำโดยตลอด เพื่อให้ได้ค่าตามมาตรฐานนั้นๆ

 เวลาที่ดีที่สุดหลังจาก Mix และระยะเวลาของการเตรียมที่เหมาะสม? การกวน หรือเป่าลม Mix อีกรอบ Chain จะสั้นลงไหมหลังจากเตรียมเสร็จแล้ว?

ตอบ : A ในกรณีใช้ลมเป่า ระยะเวลาในการเตรียมควรมีอย่างน้อย 1 ชั่วโมง 15 นาที เนื่องจากแรง shear ที่เกิดจากลมเป่ามีน้อย การ ขาดของ chain มีความเป็นไปได้น้อยมาก

B กรณีใช้เครื่องกวนผสม ใช้เวลาการเตรียมขั้นต่ำ 45 นาที ที่ความเร็วรอบ ประมาณ 150 รอบ ต่อนาที

 อุณหภูมิของนํ้าที่ใช้ผสม Flocculants ที่เหมาะสม? (เคยได้ยินว่า 50-55 OC)

ตอบ : ไม่ควรเกิน 50 องศา เพื่อลดการสูญเสียของน้ำยา จากความร้อน

 ความเข้มข้นในการเตรียม Flocculants ที่เหมาะสม?

ตอบ : เนื่องจากสารละลาย หลังเตรียมมีความเหนียวมาก แนะนำควรเตรียมความเข้มข้นไม่เกิน 1 กิโล / 1 m3 เพื่อสะดวกในการใช้งาน

 Design ของใบกวนที่เหมาะสม? ลักษณะใบกวน?

ตอบ : Propeller หรือ Impeller แต่เนื่องจากเราต้องการหมุนที่ความเร็วต่ำ เส้นผ่าศูนย์กลางของใบกานจึงควรมีขนาดกว้าง เช่น ประมาณ 1 ใน 3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางถัง เพื่อเพิ่ม mixing capacity ให้ดีขึ้น

 ถ้าน้ำอ้อยมีอุณหภูมิเกิน >105 OC จะมีผลต่อคุณภาพน้ำอ้อยอย่างไร?

ตอบ : คิดว่าจะเกิดสภาวะ overheat มีฟองเกิดขึ้นขณะช่วงตกตะกอน อาจทำให้มีตะกอนลอยที่ผิวหน้า และน้ำอ้อยเกิดการ burn จะทำ ให้ค่า R.S.R. สูงขึ้น

 ช่วยอธิบายข้อดีข้อเสีย ของการใช้ Pump กับ Gravity ในการ feed น้ำยาพักใส

ตอบ : การใช้ปั้มมีข้อดีเมื่อเทียบกับการปล่อยไหลโดย gravity ดังนี้

    ข้อดี 

1.ในเรื่องของแรงอัด และการกระจายตัวของน้ำยาในท่อ

2. ลดผลกระทบที่มาจากการอุดตันที่เกิดจากน้ำยาพักใสที่จับตัวเป็นก้อน

3.ลดจำนวนถังพัก 1 ใบ

 ข้อเสีย 

1.ปริมาณที่ปั้มได้อาจจะลดลงตามระยะเวลา เนื่องจากความสึกหรอชิ้นส่วนในปั้ม

2.การบำรุงรักษา

 How to dosage TL47 in A-Vacuum Pan? In step to start boiling or final boiling of pan. How much yield Kg/T-Cane in Philippines at BHR = 84%

ตอบ : A คำนวณปริมาณที่ใช้ของสาร TL47 เทียบกับ volume ทั้งหมดของหม้อเคี่ยว A

B แบ่ง volume ของการเคี่ยวเป็นสามส่วน และแบ่งปริมาณการเติมสาร TL47 เป็นสามส่วนเช่นกัน ใส่ทีละขั้นตั้งแต่เริ่มต้นจนครบจำนวน

 ที่บอกว่า ลดสีน้ำตาล A จาก 2000 เหลือ 864 แล้วน้ำเชื่อม Raw Syrup ต้องมีค่าสีเท่าไหร่?

ตอบ : ประมาณ 20,000 icumsa

 ขั้นตอนการลดค่าสีในหม้อเคี่ยว โดยใช้ Maxfloc TL 47 ทำอย่างไร? (ช่วยอธิบายเป็นภาษาไทย)

ตอบ : A คำนวณปริมาณที่ใช้ของสาร TL47 เทียบกับ volume ทั้งหมดของหม้อเคี่ยว A

B แบ่ง volume ของการเคี่ยวเป็นสามส่วน และแบ่งปริมาณการเติมสาร TL47 เป็นสามส่วนเช่นกัน ใส่ทีละขั้นตั้งแต่เริ่มต้น

จนครบจำนวน

 Tray less Clarifier แบบที่มีแผ่น Perforated plate ภายในนั้นจะต้องมีการปรับเปลี่ยน Dose Flocculants เพิ่มขึ้นหรือลดลงหรือไม่ หรือจะต้อง Check Design ภายใน Clarifier เพื่อตรวจสอบการใช้ Flocculants ว่าจะต้องเพิ่มหรือลด ?

ตอบ : เนื่องจาก design ช่วยให้เกิดลดความเร็วของน้ำอ้อยที่เข้าระบบ มีผลให้แนวโน้มปริมาณการใช้น้ำยาพักใสลดลง

 ถ้ามีการใช้ Floc ในปริมาณมากเกินไป จะมีผลกับการกรองน้ำอ้อยและผล Floc Potential ที่น้ำตาล (Final Product) หรือไม่?

ตอบ : ส่วนเกินของตัวน้ำยาพักใสจะตกไปพร้อมกับขี้โคลนที่ถังพักใส ก่อให้เกิดความเหนียวของขี้โคลนขณะผ่านหม้อกรอง

 Floc จะสลายตัวหมดในขั้นตอนไหนของ Process และถูกทำลายที่อุณหภูมิเท่าใด?

ตอบ : เนื่องจากน้ำยาพักใสเป็นสารอินทรีย์ จะสูญสลายด้วยความร้อนที่เกิน 100 องศา

 ผลของประสิทธิภาพในการลดสีและ ash ที่หม้อเคี่ยว B หากใช้ TL 47 จะเป็นอย่างไร?

ตอบ : ยังไม่เคยมีการทดลอง ณ ขณะนี้ แต่คาดว่าเปอร์เซ็นต์ลดสีและ ash จะต่ำลง ถ้าใช้ที่หม้อเคี่ยว B เทียบกับการใช้ที่หม้อคี่ยว A ที่มีค่าสีสูงกว่า

 เจอปัญหา เรื่อง GMO จะมีหลงเหลือใน Final Product ? (Enzyme ผลิตจากจุลินทรีย์ที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม) มีข้อมูลยืนยันหรือไม่ว่าไม่มีผลกับ Product (ตรวจพบที่ Product)

เนื่องจากในปัจจุบันการนิยามเรื่องของเอนไซม์ที่เป็น GMOs ในแต่ละประเทศยังแตกต่างกัน โดยปัจจุบัน เอนไซม์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำตาลที่มีประสิทธิภาพดีทั้งในแง่การลดแป้งและต้นทุนของโรงงานนั้นใช้ เทคโนโลยีการผลิตที่เรียกว่า Self clone enzyme ซึ่งในบางประเทศถือว่ามีความปลอดภัยและไม่ติดปัญหาของ เรื่อง GMOs ซึ่งผู้ผลิตน้ำตาลต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายเรื่องของ GMOs ของประเทศค้าเพื่อใช้เอนไซม์ ได้อย่างถูกต้อง

สำหรับตัวเอนไซม์ที่เป็น Non GMOs (Original microorganism) นั้นสามารถใช้ในกระบวนการผลิตน้ำตาล เพื่อลดแป้งได้เช่นกัน ซึ่งจะตัดปัญหาในเรื่อง GMOs ได้ แต่อาจจะต้องใช้เอนไซม์ในปริมาณที่สูงกว่าเอนไซม์ที่ กล่าวมาข้างต้นเพื่อประสิทธิภาพในการลดแป้ง

การหลงเหลือของเอนไซม์เบื้องต้นสามารถตรวจสอบได้โดยการตรวจสอบปริมาณโปรตีนในสินค้าว่ามีมากกิน ค่าควบคุมหรือไม่ หากตัวโปรตีนที่ตรวจพบไม่ได้มีจากค่าควบคุมสามารถสรุปคร่าวได้ว่าไม่มีเอนไซม์หลง เหลืออยู่ หรือใช้วิธีการตรวจสอบกิจกรรมของเอนไซม์ในสินค้าซึ่งจะให้ผลที่แน่นอนกว่า หรือส่งตรวจรหัส พันธุกรรมของGMOs strain ข้อมูลขึ้นอยู่กับลักษณะสินค้าของผู้ผลิตแต่ละราย

 Enzyme สามารใช้ในระบบผลิตน้ำตาล Refine ได้หรือไม่ และถ้าเป็นไปได้ควรจะเติมที่ใด และควบคุมอย่างไร และจะ Recheck อย่างไรว่าในน้ำตาล refine มี Enzyme ตกค้างหรือไม่

เอนไซม์สามารถใช้ในระบบน้ำตาล refine ได้แต่เนื่องจากสภาวะที่ค่อนข้างไม่เหมาะสมแต่การทำงานของเอนไซม์ในเรื่องของ Brix ที่ค่อนข้างสูงในการะบวนการผลิตและเวลาเร็วในการผลิตปริมาณเอนไซม์ที่ใช้อาจจะต้อง สูงตามไปด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณแป้งที่ต้องการจะลดลง ในกระบวนการ refine ควรจะเติมเอนไซม์ในขั้นตอน การละลายน้ำตาล การตรวจการตกค้างของเอนไซม์ดูคำตอบ ตามข้อที่ผ่านมา

 pH ที่เหมาะสมในการใช้ Enzyme เท่าไหร่? และการ Dose Enzyme ในจุดที่ Clarifier กับหม้อต้มทำอย่างไร และมีผลต่อ Tube ในหม้อต้มหรือไม่ (ปกติ tube เป็น Stainless)

pH เอนไซม์ที่เหมาะสมอยู่ที่ pH 6-7 การเติมเอนไซม์ทั้ง 2 จุด อาจใช้ dosing pump เติมเอนไซม์ลงในท่อ เพื่อเพิ่มการสัมผัสและการผสมของเอนไซม์กับน้ำเชื่อมได้ดีขึ้น เอนไซม์เป็นสารไม่กัดกร่อนจึงไม่มีผลต่อ tube

 How long can we keep enzyme in stock?

อายุการจัดเก็บของเอนไซม์ในสภาวะที่ถูกต้องสามารถจัดเก็บได้เป็นระยะเวลา 1 ปี โดยมีการสูญเสีย Activity น้อยกว่า 5 % ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและระยะเวลาที่จัดเก็บเพื่อการใช้งาน โดยทั่วไปสำหรับ โรงงานผลิตน้ำตาลนั้นมีการผลิตเพียง 3-4 เดือนในระยะเวลาการผลิต การจัดเก็บเอนไซม์สามารถจัดเก็บ ณ 25๐C โดยมีการสูญเสีย activity ของเอนไซม์เพียงเล็กน้อยโดยไม่ส่งผลกระทบต่อปริมาณการใช้ในการผลิต

 การใช้ Membrane Technology ในอุตสากรรมน้ำตาล

ตอนนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ เนื่องจากอยู่ในช่วงการพัฒนา

 Brix ของ Remelt มีค่าเท่าไหร่ ? เนื่องจากเห็นใน Slide มีค่า 45 Brix ถ้ามี 65 Brix (Remelt) จะได้แบบนี้หรือไม่

ขึ้นอยู่กับ Membrane ถ้าทนอุณหภูมิได้สูง ก็สามารถใช้ค้า Brix เพิ่มขึ้น

 เพื่อเป็นการลดขั้นตอนในกระบวนการ เราจะสามารถนำ Raw Sugar มาทำเป็น Remelt Sugar แล้วผ่าน Membrane Filtration เลย โดยไม่ผ่านกระบวนการ Affination และจะสามารถลดค่าสีได้แตกต่างกันได้หรือไม่ ?

ถ้าเป็นสีส่วนใหญ่สามารถ Remove ออกได้