อุตสาหกรรมที่ให้บริการ

  • กลุ่มโรงแรม
  • กลุ่มโรงพยาบาล
  • กลุ่มอาคารสำนักงาน, ศูนย์ประชุม, ศูนย์การค้า
  • กลุ่มอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล
  • กลุ่มเอทานอล
  • กลุ่มโรงไฟฟ้า
  • กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร
กลุ่มอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล

อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล เป็นอุตสาหกรรมเกษตรที่เติบโตในประเทศไทยมานานกว่า 50 ปี แหล่งผลิตอ้อยและน้ำตาลแรกเริ่มอยู่ที่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ปัจจุบันมีโรงงานผลิตน้ำตาลในประเทศไทยถึง 46 โรงงานกระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆ ในภาคกลาง ภาคตะวันออก เฉียงเหนือและ ภาคเหนือ ฤดูกาลหีบอ้อยเพื่อผลิตน้ำตาลจะอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมีนาคม ประเทศไทยสามารถผลิตอ้อยที่มีคุณภาพความหวาน 12 ซีซีเอส (Commercial Cane Sugar)
ได้ผลผลิตอ้อย 12 ตันต่อไร่ และได้ผลผลิตน้ำตาลประมาณ 100 กิโลกรัมต่อตันอ้อย ปัจจุบันมีหีบอ้อย 60 ล้านตันเพื่อผลิตเป็นน้ำตาล 6 ล้านตันและมียอดขายของน้ำตาลทั้งหมดที่ 50,000 ล้านบาทต่อปีประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศสำคัญ ในนการส่งออกน้ำตาลสู่ตลาดโลกเช่นเดียวกับ บราซิล ออสเตรเลีย และอัฟริกาใต้

ขบวนการผลิตน้ำตาลจะประกอบด้วยขั้นตอนใหญ่ ๆ 4 ขั้นตอน คือ

1.การหีบสกัดน้ำอ้อย

2. การทำใสน้ำอ้อย

3. การต้มเคี่ยวน้ำตาลให้ตกผลึก

4. การปั่นแยกน้ำตาลและทำให้แห้ง

ชนิดของน้ำตาลที่ผลิตจะมี 3 ชนิดหลักซึ่งมีความแตกต่างกันตามค่าโพลและค่าสี

1. น้ำตาลทรายดิบ

2. น้ำตาลทรายขาว

3. น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ (น้ำตาลรีไฟน์)

ผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมน้ำตาล

โดยทั่วไปแล้ว อ้อย 1 ตัน โรงงานจะทำน้ำตาลได้ประมาณ 100 – 120 กิโลกรัม จะได้กากอ้อยที่มีความชื้นร้อยละ 50 ออกมาประมาณ 250 – 300 กิโลกรัม กากน้ำตาลประมาณ 50 – 60 กิโลกรัมและได้กากตะกอนประมาณ 30 – 40 กิโลกรัม

กากอ้อย (Bagusses) ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจนและไนโตรเจน มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้อย่างดี โรงงานน้ำตาลจึงใช้กากอ้อยเป็นเชื้อเพลิงของเตาหม้อไอน้ำ (Boiler) เพื่อผลิตไอน้ำใช้เป็นแหล่งพลังงานความร้อนในขบวนการผลิตน้ำตาล และไอน้ำ อีกส่วนหนึ่งจะนำไปขับกังหันไอน้ำ (Turbine) เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในโรงงาน นอกจากการใช้กากอ้อยเป็นเชื้อเพลิงแล้วยังสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ ไม้อัด (Fiber Board), แผ่น Particle board และการผลิตเซลลูโลส

กากตะกอน (Filter Cake) ได้จากการกรองน้ำอ้อยหลังจากพักใสแล้วกากตะกอนจะมีน้ำตาลติดออกมาพอสมควร มีสารอาหาร เช่นโปรตีน และแร่ธาตุต่างๆ สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยใส่ในไร่อ้อย หรือทำอาหารสัตว์ หรือผลิตก๊าซชีวภาพ

กากน้ำตาล (Molasses) จากขบวนการผลิตน้ำตาลจะให้กากน้ำตาลออกมาประมาณครึ่งหนึ่งของปริมาณน้ำตาลทรายที่ผลิตได้ กากน้ำตาลมีลักษณะเป็นของเหลวข้นเหนียวได้จากการปั่นแยกผลึกน้ำตาลทรายออกหลังจากขบวนการตกผลึก ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตแอลกอฮอลและผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล, ผงชูรส หรือส่งไปจำหน่ายยัง อังกฤษ, ญี่ปุ่น เกาหลีใต้เป็นต้น

บริษัท วิศวกรรมเคมี จำกัด ได้จัดจำหน่ายเคมีภัณฑ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของขบวนการ ผลิต น้ำตาลและการควบคุมคุณภาพให้ได้น้ำตาลทราย